แนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ดีต้องทำอย่างไร

กล่องกระดาษแข็ง กล่องจั่วปัง | เทคนิคออกแบบให้สวยงาม คือ อาภรณ์หรูที่จะช่วยให้สินค้าคุณขายดี

บรรจุภัณฑ์ ช่วยโลกในการจัดระเบียบการจัดเก็บสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างแท้จริง ลองดูกระเป๋าสำหรับใส่ขนมกระจุกกระจิก ถุงผ้าสำหรับใส่เสื้อผ้าเตรียมนำไปซัก กับ ขวดสำหรับเครื่องดื่มรสชาดโปรดปรานของคุณ สามตัวอย่างที่ยกมากล่าวนี้ จะทำให้บรรจุภัณฑ์มีความหมายขึ้นมาแล้ว

บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าจะมีความสำคัญขึ้นอย่างไร ใช่ ผมกลับพูดถึง สื่อภาชนะที่เหมาะเหม็งกับสินค้าแต่ละชนิด ลองหลับตานึกดูว่า การดื่มเบียร์จากขวด (โดยพฤติกรรมนี้ มักจะเป็นนิสัยของนักดื่มเบียร์จากขวดขนาดเล็ก หรือจากกระป๋องเหล็ก) โดยการยกกระดกแล้วดื่มอย่างสมใจ คุณยังมีวิธีดื่มแบบไหนสาแก่ใจกว่านี้อีกไม๊ ซึ่งยังกินความหมายมากกว่านั้น เช่น การออกแบบขวดภาชนะนั้นอย่างดี ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของสินค้าไปในต้ว เกี่ยวกับประสบการณ์ความรู้สึกที่ลึกซึ้งผ่านการมองดู สัมผัส และลิ้มรสสัมผัส ตามชนิดของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ของมัน

กล่องกระดาษแข็ง กล่องจั่วปัง | การออกแบบให้สวยงาม
กล่องกระดาษแข็ง กล่องจั่วปัง | การออกแบบให้สวยงาม

สิ่งเหล่านี้แหละที่สร้างความเชื่อมโยงการบริโภคผ่านการเรียนรู้ว่า จะใช้ประโยชน์จากมันอย่างไร ใครจะเป็นผู้ใช้ และการสร้างประสบการณ์สำคัญที่สุดคือ การตัดสินใจว่าจะเลือกซื้อสินค้าเหล่านั้นหรือไม่

ผมจะเล่าให้คุณฟังเกี่ยวกับการสร้างและเล่าเรื่องราวสินค้า (Story Telling) ผ่านบรรจุภัณฑ์ของคุณอย่างไร เพื่อสร้างแนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ดีและเหมาะกับสินค้าของคุณ

กล่องกระดาษแข็ง กล่องจั่วปัง | การออกแบบให้สวยงาม ก่อนจะเริ่มการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของคุณ

3 คำถามสำคัญที่คุณต้องรู้

3 ส่ิงหลักๆ ที่สำคัญมากที่คุณจะต้องตอบคำถามให้ได้ ก่อนที่คุณคิดจะเริ่มออกแบบบรรจุภัณฑ์ คือ
สินค้า คือ อะไร?
ใครเป็นผู้ซื้อสินค้านั้น?
คนซื้อ เขาซื้ออย่างไร?

1) สินค้า คือ อะไร?
นี่ไม่ใช่คำถามลวงถาม หรือกวนประสาท ที่จริงเป็นคำถามง่ายๆ คือ คุณขายอะไร ขนาดใหญ่เล็กแค่ไหน ทำจากวัสดุอะไร มันเปราะบางแค่ไหน

เพราะคำถามเหล่านี้นำไปสู่การช่วยคุณหานิยาม และหาความจริงสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าของคุณ เช่น สินค้าที่เปราะบางย่อมต้องการการปกป้องสินค้าที่ปลอดภัยมากที่สุด สินค้าที่มีขนาดใหญ่โต หรือมีลักษณะเฉพาะ ย่อมต้องการวิธีการออกแบบเฉพาะทางพิเศษกว่าสินค้าปกติแบบทั่วๆ ไป

2) ใครเป็นผู้ซื้อสินค้านั้น?
ผู้ซื้อเป็นเพศใด ชาย หรือ หญิง หรือทั้งสองเพศ?
สินค้านั้นเหมาะสำหรับเด็ก หรือ ผู้ใหญ่?
สินค้านั้นเหมาะกับผู้ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่?
สินค้านั้นเหมาะกับผู้บริโภคที่มีกำลังทรัพย์ระดับไหน? จำกัดงบ? หรือหรูหราได้?

บรรจุภัณฑ์ควรมีเสน่ห์และดึงดูดความสนใจของผู้ซื้อมุ่งหวังได้ ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุด ก่อนที่คุณจะเริ่มการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของคุณ ต้องทราบคำตอบของคำถามเหล่านี้ให้ดีเสียก่อน เพื่อจะได้กำหนดทิศทาง กลุ่มเป้าหมายได้ตรง และทรงประสิทธิภาพ เช่น สินค้าสำหรับผู้สูงอายุ ควรใช้ตัวอักษรใหญ่ ส่วนสินค้าที่มุ่งเป้าไปที่กลุ่มผู้มีฐานะควรพิจารณาวัสดุที่สร้างความรู้สึกหรูหราได้ เป็นต้น

กล่องกระดาษแข็ง กล่องจั่วปัง | การออกแบบให้สวยงาม
กลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการออกแบบให้สื่อถึงตรงจุดเป้าหมาย

3) คนซื้อเหล่านั้น ซื้ออย่างไร
ช่องทางใดที่พวกเขาเลือกซื้อสินค้า เช่น ในซุปเปอร์มาร์เก็ต? ในร้านหรูขนาดเล็ก? หรือทางอินเตอร์เน็ตออนไลน์ ฯลฯ

นั่นทำให้คุณต้องพิจารณาความเหมาะสมในการเลือกบรรจุภัณฑ์ที่จะต้องออกแบบให้ถูกต้องตรงกับช่องทางการจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็นทางออนไลน์ หรือซื้อจากร้านค้า ก็ต้องมีกลยุทธ์ในการทำให้มีความน่าสนใจกว่าของคู่แข่งหากสินค้าตั้งอยู่บนชั้นวางสินค้า หากเป็นสินค้าที่ถูกสั่งซื้อทางออนไลน์ ก็ควรพิจารณาการออกแบบให้กระชับ ลดพื้นที่ที่ไม่จำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงการสั่นสะเทือน เขย่าทำให้โพล่กเพลก เพื่อประกันการบิดเบี้ยวหรือหักงอในระหว่างการขนส่งในกรณีเป็นสินค้าบูติกบนชั้นวางสินค้า ก็ควรมีรูปลักษณ์ที่โดดเด่นจับต้องสายตาของผู้ซื้อ ซึ่งแวดล้อมไปด้วยสินค้าคู่แข่งอีกมากมาย แนวคิดที่ดีและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามจะทำให้สินค้ามีโอกาสถูกเลือกมากขึ้น

พอจะมองเห็นภาพชัดเจนขึ้นหรือไม่ครับ? ถ้าคุณตอบว่า “ครับ/ค่ะ” งั้นการอธิบายของผมก็ใช้ได้ดี ต่อจากนี้จะเป็นแนวทางการแนะนำคุณเกี่ยวกับการนำข้อมูลเหล่านี้มาพิจารณาในขั้นตอนกระบวนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของคุณแล้ว

คุณยังขบคิดเกี่ยวคำถามข้างต้นอยู่ไม๊? ถ้าใช่ล่ะก็ คุณน่าจะยังไม่พร้อมสำหรับขั้นตอนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ แต่เอาน่า ไม่เป็นไร มันจะดีกว่ามาก หากใช้เวลาเพิ่มอีกหน่อยแต่สามารถช่วยให้คุณเข้าใจได้ดีขึ้น จะเกิดผลดีกว่าการก้าวข้ามเร็วเกินไป

ข้อมูลที่คุณจำต้องเสาะหาเพิ่ม

ความต้องการเกี่ยวกับแบรนด์

ในบางครั้ง สินค้าจะถูกปล่อยให้ยืนอยู่อย่างโดดเดี่ยว ในบางกรณีมันถูกกำหนดให้เป็นตัวแทนของการก่อตั้งแบรนด์ หากบรรจุภัณฑ์ของคุณเน้นเรื่องนี้ แน่นอนว่า ความสวยงามของตราสินค้าเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นคุณต้องมั่นใจก่อนว่าได้รวบรวมข้อมูลดังต่อไปนี้อย่างเพียงพอก่อนเริ่มต้นการออกแบบ:

โทนสี และ สีสรร หากคุณมีข้อมูลเกี่ยวกับค่าสีในการออกแบบเพื่อการพิมพ์ เช่น ค่าสี CMYK หรือแม้กระทั่งค่าสี PMS (Pantone Matching Values) นั่นจะช่วยให้คุณทำงานได้อย่างมีทิศทาง หรือค่าความแน่ชัดของสีในระบบอื่นใดก็ตาม ก็สามารถนับรวมได้

ฟ้อนต์ รูปแบบ รูปทรงตัวอักษรที่่จะใช้ร่วมในการออกแบบ ตลอดจนรายละเอียดของรูปทรงอักษเหล่านั้น เช่น การจัดระยะของอักษร หรือ รูปแบบความหนาของตัวอักษร ฯลฯ

หากต้องการใส่โลโก้ลงบนบรรจุภัณฑ์ ควรมีเวกเตอร์ไฟล์ที่เหมาะสมและมีความยืดหยุ่นสามารถกำหนดขนาดที่เหมาะสมสำหรับการพิมพ์

เนื้อหาสำคัญที่คุณต้องการจะวางลงบนบรรจุภัณฑ์
1] ข้อความ (เนื้อหา) ควรจะมีความสวยและมีเอกลักษณ์เฉพาะสำหรับสินค้า และคุณมีการเตรียมพร้อมสำหรับเป็นข้อมูลทรัพยากรในการออกแบบไว้ก่อนการออกแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแวดวงอุตสาหกรรมของคุณที่อาจมีข้อกำหนดตามกฎหมายเฉพาะให้คุณต้องใส่ไว้ประกอบคำอธิบายเกี่ยวกับสินค้า เช่น:

ข้อความบทเขียน ซึ่งหมายรวมถึง ตัวอักษรข้อความที่เขียนเกี่ยวกับชื่อของสินค้า คำอธิบายการใช้ ข้อมูลส่วนประกอบ รวมไปถึงข้อความสื่อที่บรรยายสรรพคุณหรือคำโฆษณา

2] รูปภาพประกอบ หากต้องการใส่รูปภาพประกอบ คุณควรจะมีการเตรียมไว้แล้วตั้งแต่ก่อนเริ่มการออกแบบ ซึ่งสามารถมีสิทธิ์ใช้ในเชิงการค้าได้อย่างถูกกฎหมาย

3] เครื่องหมายตรารับรองประเภทต่างๆ เช่น บาร์โค้ด รายละเอียดส่วนผสม หรือตรารับรองผลิตภัณฑ์ตามประเภท เช่นตรารับรองมาตรฐานการผลิต รับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม เป็นต้น

4] รู้ถึงข้อความจำเป็นที่อาจถูกเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ของบริบท ในสินค้าจำพวกอาหารและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ มีข้อมูลส่วนเพิ่มที่ต้องการจำแนกออกจากข้อมูลรวมปกติของผลิตภัณฑ์ได้ เช่น แถบหรือช่องว่างสำหรับพิมพ์ อายุ (ความใหม่สด) ของสินค้าหรือ เลขที่ล๊อตการผลิต ซึ่งต้องมีการวางแผนล่วงหน้า เผื่อพื้นที่ไว้สำหรับพิมพ์เพิ่มเติมภายหลังตามจำนวน เพื่อรองรับข้อมูลที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามที่กล่าวข้างต้น

สไตล์ในเรื่องความชอบและไม่ชอบ

จะเป็นการดีมากหากคุณมีการค้นหาข้อมูล วิจัยความชอบส่วนตัวของคุณก่อนเริ่มกระบวนการออกแบบ โดยเริ่มค้นหารูปแบบที่คุณชอบ เก็บสะสมรูปแบบ สี และรูปทรงบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นไว้ แหล่งที่ดีและแนะนำคือ พินเทอเรส (Pinterest) คุณอาจเปิดบัญชีสมัครสมาชิกไว้ และลองหาจากแฮชแท็กที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงสื่อสังคมออนไลน์ อินสตาแกรม (Instagram) ร่วมด้วยก็ได้

โปรดสังเกต รูปแบบที่คุณหามีไว้เป็นแหล่งอ้างอิงและสร้างแรงบันดาลใจในการที่ออกแบบโลโก้ สี และบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ของคุณเอง คุณอาจจะชอบสไตล์และองค์ประกอบจากหลายๆ สื่อดังที่แนะนำข้างต้น อย่างไรก็ดี คุณไม่จำเป็นต้องนำสิ่งที่คุณชอบทั้งหมดมาใส่รวมในงานของคุณนะ เพราะว่าคุณชอบ ให้คิดไว้อย่างหนึ่งคือ เลือกและออกแบบไว้ให้เหมาะสำหรับลุกค้ามุ่งหวังจดจำได้มากกว่า ซึ่งไม่ได้เป็นข้อสรุปว่ามันจะต้องสวยที่สุด หรือดีที่สุดเสมอไป

และข้อคิดอีกอย่างหนึ่งเมื่อคุณเริ่มสำรวจรูปแบบของสไตล์ของคุณ ให้คิดเสมือนว่า นั่นเป็นวัตถุดิบสำหรับการนำมาประกอบในงานออกแบบ ซึ่งคุณยังไม่จำเป็นต้องตัดสินใจในทันใด แต่ให้สังเกตดูความแตกต่างของแต่ละองค์ประกอบ

งบประมาณ

สามารถจำแนกออกเป็นสองประเภท ได้แก่
1.) ต้นทุนที่จ่ายครั้งเดียว
2.) ต้นทุนที่จ่ายเป็นครั้งต่อครั้ง

ต้นทุนที่จ่ายครั้งเดียว เป็นค่าใข้จ่ายรวมที่ไม่ว่าคุณจะผลิตมากน้อยเท่าไร คุณก็ต้องจ่ายเป็นค่าอุปกรณ์ (tooling) ค่าจัดพิมพ์ (Printing cost) ซึ่งรวมไปถึงค่าเพลท ค่าพิมพ์ ค่าแรกตั้งเครื่องเร่ิมต้น สำหรับยอดพิมพ์จำนวนตั้งแต่ 500 แผ่นพิมพ์ขึ้นไป รวมไปถึงงานตกแต่ง แปรรูปหลังการพิมพ์เช่น งานเคลือบลามิเนต งานสปอตยูวี งานปั้มนูน ปั้มจม ปั้มขาด หรือพิมพ์ทองเค เหล่านี้เป็นค่าใช้จ่ายที่คุณต้องจ่ายภายในครั้งเดียวแรกนั้นอยู่แล้ว นอกเสียจากคุณมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของลายกราฟิคในรอบต่อไป

ต้นทุนต่อหน่วยคงที่ ยังคงมีอยู่เช่น ค่าแรงสำหรับการบรรจุสินค้าลงในกล่อง ค่าวัสดุสิ้นเปลืองจำพวกถุงหุ้มสินค้าภายใน กระดาษกรุกันกระแทกและเทปแพ็คกิ้งสำหรับปิดฝาและก้นกล่องบรรจุสินค้า หากมิใช่เป็นการว่าจ้าง ก็คุณนั่นแหล่ะที่จะทำด้วยตัวเอง

คุณคงต้องกำหนดกรอบความคิดไว้ว่า จะสามารถรองรับค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ่ายในกระบวนการออกแบบนี้เท่าไร พึงตระหนักไว้อีกอย่างคือ การได้ราคาที่ถูก ไม่ใช่จะเป็นของดีเสมอ การลงทุนเพิ่มงบประมาณอีกสักหน่อยสำหรับวัสดุที่ดีขึ้นสามารถช่วยให้งานของคุณจบลงด้วยดีและอาจช่วยให้การนำเสนอบรรจุภัณฑ์ของคุณโดดเด่นกว่าของคู่แข่งก็เป็นได้

บรรณานุกรม: แปลจาก บทความและภาพประกอบบางส่วนจากหนังสืออิเลคทรอนิค (E-Book) เรื่อง ” The ultimate guide How to design your product packaging ” จากเว็บไซด์ https://99designs.com/ ภาพแบ็คกราวนด์ประกอบหัวเรื่องด้นบนจาก: Designed by BiZkettE1 / Freepik