ความหนาของกระดาษจั่วปัง — เลือกให้เหมาะสม ไม่เสียต้นทุนโดยไม่จำเป็น
ในงานผลิตกล่องกระดาษแข็ง (Rigid Box) ระดับพรีเมียม ความหนาของกระดาษจั่วปังไม่ได้เลือกกันด้วยความรู้สึก หรือเพื่อให้ดูหนักแน่นเฉยๆ แต่เป็นเรื่องของ “ความเหมาะสม” ต่อทั้งโครงสร้างของกล่องใส่สินค้า และต้นทุนการผลิต-ขนส่ง
การเลือกความหนาที่มากเกินไป ไม่ได้เพิ่มคุณค่าของกล่องแต่อย่างใด — แต่เพิ่มต้นทุนอย่างมีนัยสำคัญ
เราเชื่อว่า การเลือกวัสดุที่ “พอดี” และ “ดีพอ “คือหัวใจของการผลิตแบบมืออาชีพ
เบอร์ของกระดาษจั่วปัง และค่า GSM หมายถึง อะไร ?
ในอุตสาหกรรมกระดาษ รวมไปถึงกระดาษแข็งจั่วปังด้วย หน่วยของกระดาษที่เรามักจะใช้เรียก เพื่ออ้างอิง คือ “เบอร์กระดาษ” หรือ “ความหนา” ด้วย ค่า GSM (แกรมต่อตารางเมตร) และหมายเลขเบอร์ เช่น:
เบอร์ (N‑Number) | ความหนา (mm) | น้ำหนัก (g/แผ่น) |
---|---|---|
N0.8 | 0.670 mm | 420 g |
N0.10 | 0.816 mm | 510 g |
N0.12 | 1.03 mm | 640 g |
N0.16 | 1.31 mm | 820 g |
N0.20 | 1.60 mm | 1000 g |
N0.24 | 2.06 mm | 1290 g |
N0.28 | 2.40 mm | 1500 g |
N0.32 | 2.67 mm | 1670 g |
N0.38 | 2.91 mm | 1820 g |
N0.42 | 3.37 mm | 2110 g |
ตารางเปรียบเทียบเบอร์กระดาษจั่วปัง จากเว็บไซด์ http://www.sds-printing.com/กระดาษจั่วปังคืออะไร
📌 หน่วย pt (point) ก็ใช้ในบางประเทศ เช่น สหรัฐฯ โดย 1 pt ≈ 0.0254 mm — เรารู้จักและเข้าใจระบบนี้ แต่ไม่ใช่หน่วยอ้างอิงหลักในไทย
อย่าเลือกความหนาเพียงเพราะ “รู้สึกดีกว่า” — คิดให้รอบด้านเรื่องต้นทุน
หลายคนเข้าใจผิดว่า กล่องยิ่งหนายิ่งดูแพง
แต่ในความจริง:
- กล่องที่หนาเกินไป จะเพิ่มน้ำหนักรวมของสินค้า
- ส่งผลให้ ต้นทุนขนส่งเพิ่ม
- และต้นทุนผลิตต่อกล่องก็สูงขึ้น ทั้งค่ากระดาษแข็ง ค่าแม่พิมพ์ ค่าแรงในการผลิต ฯลฯ
สิ่งสำคัญไม่ใช่ความหนาสูงสุด — แต่คือความหนาที่เหมาะสมที่สุดกับสินค้าในแบรนด์ของคุณ
เราช่วยคุณเลือกในแบบที่ ” ใช่ ” ไม่ใช่แค่ ” การขายเพียงแค่กล่อง “
Rigid Box Maker ให้บริการผลิตกล่องแก่ลูกค้า ประหนึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ด้วย
โดยพิจารณาที่:
หน้าที่และการใช้งานจริงของกล่องกระดาษแข็ง
น้ำหนักสินค้าของคุณ เพื่อช่วยคัดเลือกและกำหนดความหนาซึ่งมีผลต่อความแข็งแกร่งของกล่องด้วย
ลักษณะการจัดส่งของลูกค้าเมื่อบรรจุสินค้าเสร็จและเตรียมกระจายสู่การขนส่ง
นี่คือหัวใจในงานบริการของเรา คือ นอกเหนือจากงานผลิตแล้ว ยังแนะนำให้คุณ (ลูกค้า) ได้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ได้ใช้ประโยชน์สูงสุด