กล่องในโลกของบรรจุภัณฑ์

3 types of boxes

กล่องในโลกของบรรจุภัณฑ์ ที่จะแนะนำจะทำให้คุณรู้จักกับรูปแบบของกล่อง ซึ่งมี 3 รูปลักษณ์

3 types of boxes
3 types of boxes | ลักษณะของกล่องในโลกบรรจุภัณฑ์

สำหรับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ นี่เป็นเรื่องที่มีความยุ่งยากแก่การทำความเข้าใจสำหรับผู้ที่ต้องการจะใช้งาน ไม่ว่าจะสั่งผลิต สั่งซื้อ หรือด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม การเรียกขานหรืออธิบายด้วยการจะสื่อความหมายของตนแก่ผู้ผลิตเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายจริงๆ โดยเฉพาะหากพูดถึงเรื่อง “ กล่อง “ เพื่ออธิบายนิยามของกล่องแบบพับได้ (Folding Cartons) กล่องกระดาษแข็ง/ กล่องจั่วปัง (Rigid Boxes/ Set-up Boxes) กล่องลูกฟูก (Corrgate Boxes) หรือแม้กระทั่งการเลือก “ กล่อง “ ให้เหมาะกับการใช้งานของตน ว่าจะเลือกใช้อย่างไร ตัดสินใจสั่งซื้ออย่างไร ผลิตกับใคร เป็นต้น

เรื่องนี้สามารถเยอะได้ครับ แต่เอาเป็นว่า ผมจะพยายามพูดเป็นภาษาคน แบบบ้านๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นนะครับ เกี่ยวกับสามรูปลักษณ์ของ “ กล่อง “ เบื้องต้นเราจำกัดขอบเขตกันสักนิดว่า เราพูดถึงเรื่อง “ กล่อง “ ชนิดที่เป็นกระดาษเท่านั้น (ก่อน) เพื่อจะได้ไม่แตกหน่อแตกเหล่าออกไปไกลจนกู่ไม่กลับ

1. กล่องชนิดกระดาษแบบพับได้ (Folding Cartons)

Folding Cartons
The folding carton characteristics | ลักษณะทั่วไปของกล่องกระดาษแบบพับได้

เจ้ากล่องชนิด Folding Cartons นี้ บางทีเรียกว่า Paperboard Cartons หรือ Paperboard Boxes นั้น รวมแล้วเรียกว่า มันเป็นชนิดเดียวกัน พบเห็นได้ทั่วไปตามร้านสะดวกซื้อ ตามชั้นวางสินค้าในห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต มันอยู่รอบตัวเราจริงๆ ผมเรียกกล่องเหล่านี้ (โดยความรู้สึกส่วนตัวของผู้เขียนว่า กล่องยาน้ำแก้ไอ เหมือนผู้ใหญ่ที่นับถือท่านนึงเคยเปรียบเปรยกล่องที่มีความเป็นสามัญธรรมดามากๆ ว่า กล่องขนมครก) เจ้านี่แหละ เรียกว่า “ กล่องกระดาษแบบพับได้  “

2. กล่องแข็ง หรือ กล่องกระดาษแข็ง/กล่องจั่วปัง (Rigid Boxes)

rigid box
the characteristic of rigid box | รูปลักษณ์ทั่วไปของกล่องกระดาษแข็ง (กล่องจั่วปัง)

ชื่อมันก็บอกอยู่ทนโท่นะครับ ว่า “ กล่องกระดาษแข็ง “ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Rigid Boxes (Set-up Boxes) อ่านความหมายที่ละเอียดได้จากหน้าเว็บผมเลยครับ เป็นธุรกิจหลักของผมตอนนี้เลยเชียว ตามนิยามศัพท์หรือลักษณะแล้ว ไม่ควรจะพับได้แบบหัวข้อแรก แต่ด้วยวิธีฉลาดๆ และการออกแบบที่แยบยล ทำให้เดี๋ยวนี้ กล่องกระดาษแข็งสามารถพับได้แล้ว (ไว้ผมจะโพสรูปที่บริษัทผมผลิตให้ดู) โดยมากแล้ว มักจะใช้กับสินค้าระดับหรู ระดับพรีเมี่ยม แต่ก็ไม่เสมอไปทั้งหมดหรอกนะ ขึ้นอยู่กับว่า เจ้าของสินค้าชอบหรือไม่ และยอมจ่ายเพื่อซื้อหากล่องแบบนี้หรือไม่ และมักจะพบว่า กล่องแบบนี้มักช้บรรจุสินค้าที่มีน้ำหนัก มีมูลค่าสูงและต้องการการปกป้องอย่างมาก ขณะเดียวกันก็ให้ความรู้สึกถึงคุณค่าสินค้าหรือของในกล่องว่าจะต้องมีมูลค่า มีราคาแน่นอน ยกตัวอย่าง กล่องใส่โทรศัพท์มือถือไอโฟน ซึ่งเป็นกรณีตัวอย่างที่พูดถึงก็เห็นภาพได้เลย

3. กล่องลูกฟูก (Corrugated Boxes)

corrugated box
the characteristic of corrugated box | ลักษณะโดยทั่วไปของกล่องลูกฟูก

สำหรับกล่องชนิดนี้ ไม่เป็นที่แปลกหูแปลกตาสำหรับพวกเราแน่นอน สามารถพบได้ในแทบทุกผลิตภัณฑ์ที่เราซื้อหา ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ทีวี ตู้เย็นหรือกล่องที่ใช้บรรจุสิ่งของเวลาเราขนย้ายสำนักงาน หรือย้ายบ้าน (สำหรับมีประสบการณ์แบบนี้ดี ในต่างประเทศเป็นแบบนี้แทบทั้งนั้น) แต่สำหรับบ้านเรานี่ สมัยใหม่เดี๋ยวนี้น่าจะพบเห็นได้บ่อยๆ แล้ว

กล่องลูกฟูก ตามรูปลักษณ์ภายนอกที่เห็นจะประกอบไปด้วยกระดาษสามชั้น คือ ชั้นบนและล่างเป็นแผ่นผิว ส่วนตรงกลางจะเป็นลอนกระดาษที่ถูกบด เหมือนที่ปิ้งปลาหมึกตากแห้ง แล้วเข้าเครื่องบดยืดออกให้บางและคลายความเหนียว ลักษณะเป็นลอนของกระดาษลูกฟูกก็คล้ายๆ แบบนี้

ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ กล่องลูกฟูก มักจะทำหน้าเป็นผู้ปกป้องผลิตภัณฑ์ชั้นนอกสุด และถูกใช้เป็นผู้นำส่งผลิตภัณฑ์ไปยังปลายทางหรือสู่ผู้บริโภคในที่สุด จัดเป็นผู้พิทักษ์ ผู้ปกป้อง ผู้นำส่งสินค้าจากต้นทางผู้ผลิตไปยังปลายทางที่เป็นผู้รับหรือผู้ใช้สินค้าอย่างแพร่หลายทั่วโลกเลยทีเดียว

นอกจากนี้ กล่องลูกฟูก ยังถูกนำมาดัดแปลงใช้ในรูปแบบต่างๆ อย่างชาญฉลาด ด้วยคุณลักษณะที่แข็งแรงเมื่อถูกพับขึ้นรูปทรง ใช้เป็นขาตั้ง ชั้นวางสำหรับแสดงสินค้า หรือเป็นแผ่นป้ายแกนสำหรับติดแผ่นพิมพ์ขนาดใหญ่ และอื่นๆ อีกมากมาย

สรุปประเด็นกัน หลังจากอ่านบทความบรรยายแบบบ้านๆ ของผมข้างบนกันแล้วว่า รูปลักษณ์ของกล่องกระดาษที่ผมเขียนบทความนี้ ได้แก่
• กล่องกระดาษแบบพับได้ เกิดจากการใช้กระดาษ Paperboard Boxes หรือกระดาษที่ใช้ทำกล่อง มีความแข็ง มาปรับปรุงด้วยการปั้มอัด ตัดเป็นรูปทรงที่มีรอยพับ สำหรับขึ้นรูปทรง เราพบเห็นได้แทบทุกแห่งรอบตัวเรา ซึ่งผมเรียกกล่องลักษณะเหล่านี้ว่า กล่องยาน้ำแก้ไอ (หมายความว่า นึกถึงยาน้ำแก้ไอสมัยเด็กๆ เวลาเราไม่สบายและหมอจ่ายยาให้ หรือคุณแม่พวกเราซื้อจากร้านขายยามาให้เรารับประทาน)
กล่องกระดาษแข็ง หรือ กล่องจั่วปัง ให้ลองนึกภาพกล่องใส่โทรศัพท์ไอโฟน นั่นแหล่ะครับ
• กล่องลูกฟูก หรือ กล่องลังเบียร์ นั่นแหละ นึกง่ายๆ ก็เข้าใจได้เลย

กล่องกระดาษแข็งจั่วปัง ต่างจากกล่องพับได้อย่างไร

กล่องกระดาษแข็ง(กล่องจั่วปัง)

กล่องกระดาษแข็งจั่วปัง Rigid Box Maker ทำด้วยเครื่องจักร รองรับการสั่งผลิตจำนวนมาก

กล่องกระดาษแข็งจั่วปัง กับ กล่องพับได้ มีอะไรที่แตกต่างกัน

ผมเคยได้รับคำถามและข้อสงสัยเกี่ยวกับคำสรรพนามของกล่องบรรจุภัณฑ์เหล่านี้มา ทำให้เอะใจว่า น่าจะมีอีกหลายๆ ท่านที่ไม่เข้าใจและไม่ทราบเกี่ยวกับลักษณะนามของสองตัวตนของกล่องที่ผมเอ่ยข้างต้น ซึ่งอันที่จริงแล้ว มีความเหมือนและแตกต่างกันระหว่างกล่องสองชนิดนี้อยู่บ้าง ซึ่งผมจะชี้ให้เห็นว่า มองจากภาพรวมแล้ว กล่องสองชนิดนี้มีความเหมือนกันตรงที่ ต่างเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับบรรจุ ห่อหุ้มสินค้า ที่มีพื้นฐานของวัตถุดิบที่เหมือนกันคือ การใช้กระดาษที่มีลักษณะแข็งแกร่ง มาผ่านกระบวนการแปรรูป ขึ้นรูปเป็นกล่องบรรจุภัณฑ์ (Packaging) และกระดาษแข็ง ในที่นี้ หมายถึง “ Paperboard “ ตามโครงสร้างจะมีลักษณะแกร่งเพียงพอที่จะใช้เพื่อขึ้นรูป ด้วยการหัก พับ ซึ่งผ่านการแปรรูปให้ขึ้นรูปทรงเป็นกล่องสำหรับบรรจุสินค้าหรือสิ่งของได้ ส่วนกระดาษแข็งอีกชนิด มักเรียกว่า “ เกรย์บอร์ด (Greyboard), หรือ กระดาษจั่วปัง (กระดาษแข็ง) ตามโครงสร้างจะมีความแกร่งมากกว่า 3-4 เท่าของ paperboard ขึ้นไป (สามารถหาอ่านบทความเกี่ยว “ กระดาษจั่วปัง คือ อะไร จากบทความของผมก่อนหน้านี้ได้ ที่นี่)

• กล่องกระดาษแบบพับได้ หรือ “ Folding Carton “ เราเรียกเป็นคำทั่วไป ตามลักษณะนามของมันที่สามารถพับให้แบน และจับพับขึ้นรูปได้ครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งผ่านกระบวนการพับ ดัด แปรรูปมาเสร็จแล้วจากการปั้ม ซึ่งมีรอยพับให้สำหรับหักและมีมุมสอดเสียบเมื่อตั้งขึ้นรูป กล่องกระดาษแบบพับได้นี้ จะสามารถถูกพิมพ์บนพื้นผิวของตัววัสดุ (Substrate) ได้โดยตรงไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ท กราเวียร์ ซิลค์สกรีน หรือเฟล็กโซ ได้ทั้งหมด การทำส่วนเติมแต่งหลังกระบวนการพิมพ์ เช่น การเคลือบด้วยวิธีการอาบยู วี หรือ เคลือบฟิลม์ลามิเนต การพิมพ์สปอตยูวี (ยูวีเฉพาะจุด) การพิมพ์ฟลอยด์ทอง (Hot Stamping Printing) หรือที่เรียกว่าพิมพ์ทองเค ก็สามารถดำเนินการลงบนพื้นผิวของวัสดุโดยตรงได้เช่นกัน

ในการผลิตกล่องกระดาษแบบพับได้ มีข้อได้เปรียบได้แก่ ใช้เครื่องจักรการพิมพ์และแปรรูปไม่มากนัก เมื่อพิมพ์เสร็จและแปรรูปพร้อมขึ้นรุปแล้ว สามารถใช้เครื่องติดกล่องช่วยติดทำให้ได้ชิ้นงานที่เร็ว สะดวก ได้ในปริมาณมากๆ  ปกติแล้ว ราคากล่องแบบนี้จะประหยัดกว่ามาก ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานผู้คนมากมาย หรืออาจไม่ต้องใช้แรงงานในการประกอบมากนัก และอาจไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุหรือกระดาษราคาแพงมากด้วย

กล่องกระดาษแข็งจั่วปัง
กล่องกระดาษแบบพับที่พบเห็นทั่วไป

กล่องกระดาษแข็ง หรือกล่องจั่วปัง ตามลักษณะปกติ มักจะพับไม่ได้ แต่การจัดทำกล่องแบบนี้ เริ่มที่การใช้กระดาษแข็ง (Greyboard)

(หากต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับความหนาของกระดาษแข็ง อ่านได้จากบทความของผมก่อนหน้านี้ หัวข้อ “ ความหนาของกระดาษจั่วปัง “ ได้ ที่นี่

มาปรับปรุงด้วยกรรมวิธีดั้งเดิม คือ การปั้มเป็นรอยตามเส้นปั้มขาด ที่ตั้งน้ำหนักกดเพียงครึ่งให้กระดาษสัมผัสกับแม่พิมพ์อัดตัด (แม่ปั้ม) เพื่อให้เกิดเป็นรอยตามรูปของกล่อง แต่ยังไม่ขาดจากกันทั้งหมด เพียงให้บริเวณมุมทั้งของกระดาษถูกปั้มตัดขาดออกไป จะเหลือเพียงรูปทรงกระดาษเป็นทรงเครื่องหมาย “ บวก “ พร้อมเส้นพับเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมจัตุรัสอยู่กึ่งกลาง จากนั้นพับหักกลับด้าน แล้วติดด้วยเทปกาวเพื่อตรึงบริเวณขอบทั้งด้านที่พับกลับมาชนกันไว้ให้เป็นทรงกล่องชั่วคราว

บางรายก็ใช้วิธีตัดกระดาษเป็นชิ้นๆ 5 ส่วนมาเรียงต่อโดยใช้ริมขอบกระดาษตัวฐานวางราบแล้วทากาวริมขอบกระดาษ จากนั้นใช้ชิ้นส่วนเล็กๆ อีกสี่ชิ้นมาติดขอบรอบเพื่อขึ้นเป็นผนังกล่อง วิธีนี้เสียเวลาและช้า ไม่เหมาะกับการทำกล่องกระดาษแข็งในปริมาณมากๆ ได้

ส่วนวิธีสมัยใหม่ ปัจจุบัน ใช้วิธีการเซาะร่อง (Grooving Process) ด้วยเครื่องจักรแทน วิธีการคือ ให้กระดาษวิ่งผ่านสายพานลำเลียงเข้าสู่โมพากระดาษทรงกลมขนาดใหญ่ ขณะวิ่งผ่านไปครึ่งรอบ จะมีมีดถาดเป็นทรงตัว “ วี “ อยู่ตรงด้านหลังโมพากระดาษ โดยตั้งเป็นแนวขนานกับโม และมีขาตั้งมีดจ่อให้สัมผัสผิวของกระดาษแข็งที่ถูกพาผ่านโมพากระดาษลงให้กรีดถากผ่านพื้นผิวกระดาษให้เป็นร่องเพียงครึ่งเดียว ซึ่งมีดจะขูดหรือถากกระดาษเป็นแนวเฉียงๆ บนผิวออก เป็นร่องรูปตัววี เมื่อนำออกมาพับตามแนวฉากที่กระดาษถูกถากออก จะทำให้บริเวณร่องสัมผัสของกระดาษถูกแบ่งเป็นท่อนโดยไม่ขาดจากกัน

หากเตรียมกระดาษเป็นรูปทรงตัวบวกเช่นกัน แนวเส้นสี่เหลี่ยมทั้งสี่ด้านเมื่อจับมาพับขึ้นรูปแล้วติดด้วยเทปที่มุมด้านบนทั้งสี่ จะเห็นผนังสี่ด้านเมื่อพับฟอร์มขึ้นรูปเป็นกล่องแล้วจะได้เป็นกล่องที่มีลักษณะสันเรียบคมได้อย่างสวยงาม โดยปกติจะไม่มีการพิมพ์ลงบนกระดาษแข็ง Greyboard (กระดาษจั่วปัง) นี้โดยตรง มักจะมีการใช้วัสดุอื่น  เช่น กระดาษอัดลาย กระดาษทำเลียนแบบหนัง

กระดาษที่ออกแบบมาเพื่อทำงานหุ้มกล่องกระดาษแข็ง หรือทำเป็นปกสมุดหนังสือ เป็นต้น มาผ่านกระบวนการเคลือบกาวแล้วจึงมาติดรอบนอกของกล่องกระดาษแข็งที่ขึ้นรูปแล้ว โดยใช้การปั้มตัดกระดาษหรือวัสดุห่อหุ้มเป็นรูปตัวบวก คล้ายตัวกล่องฐานแต่มีบริเวณหู หรือพื้นที่ส่วนปลายของทั้งสี่เป็นหูเพื่อเหนี่ยวกับตัวกล่องฐานอีกที เป็นการห่อหุ้มซ้ำตัวกล่องฐาน กระบวนการพิมพ์และแปรรูปหลังการพิมพ์ จะทำให้ส่วนห่อหุ้มนี้ หรือเรียกว่า “ ผิวหุ้ม (Lining) “ จากนั้นก็จะเป็นกรรมวิธีของแต่ละผู้ผลิตที่ใช้ความชำนาญเฉพาะทางของแต่ละรายในการรีด ปาด ทำให้เรียบเนียนแนบส่วนผิวหุ้มเข้ากับตัวกล่องฐาน จนออกมาเป็นกล่องกระดาษแข็ง หรือ กล่องจั่วปัง อย่างที่เรียกขานกัน ความยากและมากขั้นตอนของกล่องแบบนี้ สรุปได้ดังต่อไปนี้ :

มีเครื่องมือหลายอย่างที่ต้องเข้ามาใช้ในการตระเตรียมการผลิต

มีการใช้แรงงานมากมายในการผลิตประกอบขึ้น ส่วนใหญ่ในบ้านเราเป็นลักษณะการผลิตแบบนี้ คือ ผลิตและประกอบด้วยมือ ใช้ทักษะเฉพาะของช่างทำเป็นส่วนใหญ่ แม้นว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกล และสามารถใช้เครื่องจักรในการผลิตทดแทนได้แล้ว

(เช่น กรณีโรงงานของแอดมิน ใช้เครื่องจักรในการผลิตเกินกว่า 80% ของกระบวนการผลิตทั้งหมดแล้ว) ก็ตาม แต่ยังคงมีต้นทุนบางอย่างที่ผู้ผลิตรายอื่นไม่ทราบ เพราะหน่วยงานของเขายังไม่มี เช่น งานด้านการออกแบบแผ่นหุ้มที่ต้องเข้ามุมอย่างเที่ยงตรง การใช้แม่พิมพ์ขึ้นรูปกล่อง การใช้กาวที่มีคุณลักษณะพิเศษที่จะทำให้กระดาษไม่ยับย่น วัสดุกระดาษห่อหุ้มที่มีคุณสมบัติเฉพาะในการหุ้ม ตลอดจนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบเพื่อให้กล่องที่ประกอบมีรูปลักษณ์ที่เรียบหรู สวยงาม เป็นต้น

โดยมากวัสดุหรือกระดาษพิเศษที่ใช้หุ้มที่เป็นวัดสุเฉพาะทางซึ่งส่วนใหญ่มีราคาสูงเช่นกัน

ความหนาของกระดาษแข็ง ก็เป็นปัจจัยหนึ่งของต้นทุน ยิ่งหนาต้นทุนก็ยิ่งแพง

กล่องกระดาษแข็ง โดยสภาพเมื่อขึ้นรูปแล้ว จะกินพื้นที่มากกว่ากล่องกระดาษแบบพับได้

tags : # กล่องกระดาษแข็งจั่วปัง# กล่องกระดาษแข็งพับได้,  #rigidbox#rigidboxfactoryinthailand#กล่องจั่วปังที่ห่อหุ้มด้วยวัสดุอย่างดี#กล่องจั่วปังแบบพับได้#กล่องจั่วปังแพงไม๊#กล่องดับเบิ้ลวอล#กล่องที่ทำหน้าที่เป็นพนักงานขาย#กล่องเลียนแบบกล่องจั่วปัง#การขึ้นรูปกล่องกระดาษแข็ง#การออแบบบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษแข็ง#ต้องการสั่งผลิตกล่องจั่วปัง#ทำไมกล่องจั่วปังถึงราคาสูง#ทำไมกล่องจั่วปังถึงแพง#โรงงานผลิตกล่องจั่วปังpremium box for hi-end productpremium rigid boxrigid box factory in Thailandrigid box manufacturerrigid box producerผลิตกล่องจั่วปังที่ไหนดี

ความหนาของกระดาษจั่วปัง

ความหนาของกระดาษจั่วปัง

ผลิตกล่องจั่วปังโดยโรงงานตรง รับผลิตกล่องจั่วปัง รับผลิตกล่องกระดาษแข็ง

ความหนาของกระดาษจั่วปัง บทความต่อจากตอนแรก ซึ่งว่าไปแล้ว ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกันอยู่บ้างหล่ะ เรื่องความความหนา มันก็ทำให้มีเรื่องความแข็งควบคู่กันมาด้วย อันเนื่องมาจากการบวกเพิ่มหนาขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการผลิตที่ชั้นหนาคราวเดียว หรือการปะกบด้วยความหนาของสองแผ่นรวมกัน ในภาษาการผลิต เรียกกันว่า เป็นกี่ไพล์ (Ply) แล้วอะไรเป็นหน่วยวัด หรือบรรทัดฐานในการเรียกขานหรือจดจำหล่ะ

กระดาษแข็ง กระดาษจั่วปัง หรือการ์ดบอร์ด เกรย์บอร์ด เหล่านี้สรุปแล้ว คือ ชนิดเดียวกันนะครับ โดยความหนาของกระดาษที่เห็นในตลาดผู้ค้าจะเริ่มต้นกันตามคำเรียกขานว่า เบอร์ 8 เบอร์ 10, 12, 16, 20, 24, 32 จนถึงความหนาเบอร์ที่สุด ขณะนี้ คือ เบอร์ 42 หากเทียบเป็นน้ำหนักของกระดาษ ก็จะได้ข้อมูลดังต่อไปนี้:
กระดาษจั่วปัง N0.8   หนา 0.70 mm. หนัก 420g/แผ่น
”                 ” N0.10 หนา 0.85 mm. หนัก 510g/แผ่น
”                 ” N0.12 หนา 1.03 mm. หนัก 640g/แผ่น
”                 ” N0.16 หนา 1.40 mm. หนัก 820g/แผ่น
”                 ” N0.20 หนา 1.70 mm. หนัก 1000g/แผ่น
”                 ” N0.24 หนา 2.00 mm. หนัก 1290g/แผ่น
”                 ” N0.28 หนา 2.40 mm. หนัก 1500g/แผ่น
”                 ” N0.32 หนา 2.80 mm. หนัก 1670g/แผ่น
”                 ” N0.38 หนา 3.10 mm. หนัก 1820g/แผ่น
”                 ” N0.42 หนา 3.40 mm. หนัก 2110g/แผ่น

ความหนาของกระดาษจั่วปัง
ลักษณะ ความหนาของกระดาษจั่วปัง
The thickness of Grey Board characteristics.

ขนาดการบรรจุ มักจะเรียกขานกันเป็นก้อน หรือบางครั้งก็เรียกเป็นรีม แต่ในหนึ่งก้อนหนึ่งรีมนั้น จำนวนแผ่นจะไม่เท่ากัน การจัดบรรจุนี้ โรงงานผู้ผลิตจะกำหนดขนาดบรรจุเป็นน้ำหนักต่อกิโลกรัม โดยให้แต่ละก้อนมีน้ำหนักประมาณ 45 กิโลกรัม จากที่เคยสำรวจข้อมูลไว้ พบว่า:

N0.8   หนา 0.70 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 105-110 แผ่น

N0.10 หนา 0.85 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 90-95 แผ่น
N0.12 หนา 1.03 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 70-79 แผ่น
N0.16 หนา 1.40 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 55-60แผ่น
N0.20 หนา 1.70 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 45-48แผ่น
N0.24 หนา 2.07 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 35-38แผ่น
N0.28 หนา 2.40 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 30-33แผ่น
N0.32 หนา 2.80 mm. มีจำนวนก้อนละประมาณ 27-30แผ่น
N0.38 หนา 3.10 mm. (แกรมนี้มักจะเป็นของนำเข้าจากต่างประเทศ หรืออาจต้องปะกบขึ้นตามคำสั่งผลิตพิเศษ ซึ่งมักมีข้อกำหนดการสั่งขั้นต่ำในการผลิตด้วย)
กระดาษจั่วปัง N0.42 หนา 3.40 mm. แกรมนี้มักจะเป็นของนำเข้าจากต่างประเทศ หรืออาจต้องปะกบขึ้นตามคำสั่งผลิตพิเศษ ซึ่งมักมีข้อกำหนดการสั่งขั้นต่ำในการผลิตด้วย)

นอกจากนี้ ยังอาจสามารถสั่งกระดาษเป็นขนาดพิเศษ 31″ x 43″ ได้ด้วย แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ผลิตจะมีที่ความหนาของกระดาษจั่วปังไว้ในสต๊อคหรือไม่

ตามลักษณะเชิงโครงสร้าง

แผ่นกระดาษแข็งจั่วปังนี้จะถูกผลิตเป็นแผ่นพื้นฐานที่ความหนาอยู่ประมาณสามความหนา ได้แก่ ความหนาของเบอร์ 8, 10, 12, 16 ตามลำดับ หากเบอร์ที่เพิ่มขึ้น (ข้อสังเกตมักจะเพิ่มในลักษณะเท่าตัว) นั่นก็หมายถึงความหนา/ความแข็งของกระดาษที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเบอร์ที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่เบอร์ 20 ขึ้นไปเกิดจากการใช้กระดาษความหนาเบอร์ 10 สองแผ่นปะกบกัน เบอร์ 24 เกิดจากเบอร์  12 สองแผ่นปะกบกัน เป็นต้น เบอร์หนาอื่นๆ ก็ในลักษณะเดียวกัน

การใช้งานตาม ความหนาของกระดาษจั่วปัง

เรามักพบเห็นการใช้กระดาษแข็งจั่วปังเบอร์ 8 จนถึงเบอร์ 10 ใช้พิมพ์หรือผลิตเป็นแผ่นป้ายแขวน ป้ายราคา กระดาษแข็งจั่วปังเบอร์ 12, 16 มักจะเห็นนำมาผลิตเป็นขาตั้งแป้นปฏิทินตั้งโต๊ะ หรือติดแผ่นป้ายโฆษณา กระดาษแข็งจั่วปังเบอร์ 20, 24 มักจะเห็นนำไปทำเป็นปกหนังสือปกแข็ง หรือแผ่นปกสำหรับประกาศนียบัตร ปริญญาบัตรต่างๆ ที่เห็นหุ้มด้วยผ้าไหมหรือผ้าสังเคราะห์แบบต่างๆ นั้นแหล่ะ หรือบางทีความหนาแบบนี้ก็นำมาทำเป็นกล่องกระดาษแข็ง แล้วหุ้มด้วยกระดาษพิมพ์ลายกราฟิค หรือ กระดาษแฟนซีสวยๆ ต่างๆ เพื่อให้เกิดความสวยงาม เป็นต้น เบอร์ที่หนาขึ้นก็มีการนำไปใช้ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น อาจนำไปผลิตเป็นกระเป๋า (กระดาษแข็ง) เอกสาร หรือ ปกแฟ้มกันเลย นอกจากนี้ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ นักคิด นักออกแบบอื่นๆ ก็อาจกำหนดให้กระดาษแข็งจั่วปังเป็นไส้ใน แล้วห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เลือกสรร ประกอบกันขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์แบบต่างๆ เช่น เป็นกล่องกึ่งปกแฟ้ม หรือ กล่องบรรจุเหล้า เครื่องดื่มสุราที่มีแบรนด์ มีตราดัง ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าหรู เป็นต้น

ซึ่งคุณสมบัติที่หนาแข็งแรงนี้ ทำให้เกิดเป็นโครงสร้างภายในหรือไส้ในที่แข็งแรงเพียงพอที่จะปกป้องสินค้าที่มีความบอบบาง หรือชำรุดแตกหักได้ง่ายได้ดี ด้วยการออกแบบถาดรับ หรือชิ้นวางที่กระชับ แข็งแรง สามารถโอบอุ้มและป้องกันสินค้าภายในได้อย่างเหมาะสม ในขณะที่ตัวหุ้มผิวนอก ก็อาจใช้วัสดุที่ปรับแต่งให้สวยงาม เช่น กระดาษที่พิมพ์ไว้อย่างสวยงาม หรือวัสดุสังเคราะห์ที่มีความเหนียวหยุ่น ทนทาน มาหุ้มเพื่อให้เกิดความสวยงาม ทำให้ได้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ดูดี มีความหรู และทำให้ภาพลักษณ์ของสินค้ายกระดับความมีคุณค่าได้อีกด้วย

#ความหนาของกระดาษจั่วปัง, #กระดาษแข็งทำกล่อง, #กล่องขนมไหว้พระจันทร์, #สั่งผลิตกล่องกระดาษแข็งที่ไหนดี, #กล่องพรีเมี่ยม, #กล่องสวยๆ, #กล่องจั่วปังสวยๆ, #ใครรับทำกล่องจั่วปังบ้าง, #ผลิตกล่องจั่วปังที่ไหนดี, #แนะนำที่ผลิตกล่องจั่วปัง

กระดาษจั่วปัง

กระดาษจั่วปัง

กระดาษจั่วปัง กล่องจั่วปัง กล่องกระดาษแข็ง สำหรับผลิตกล่องบรรจุระดับสินค้าพรีเมี่ยม

กระดาษจั่วปัง คือ อะไร

บทความแรก จากเว็บไซด์ rigidboxmaker.com วันนี้ แอดมินจะขอเล่าเกี่ยวสินค้าตัวกล่องที่เราผลิต พูดภาษาบ้านๆ หน่อย เขาเรียกเป็นคำทั่วไปว่า กล่องจั่วปัง (纸板) เป็นคำจากภาษาจีน จั้ว (纸) แปลว่า “กระดาษ” ปัง (板) แปลว่า “แข็ง” รวมคำกันเป็นคำว่า “กระดาษแข็ง” สมัยก่อนในเมืองจีน โรงงานผลิตสินค้าเครื่องสำอางค์จะนำเอากระดาษแข็งชนิดนี้มาดัดแปลงทำเป็นกล่อง สำหรับใส่แป้งขาว (สมัยนี้ก็เทียบได้กับแป้งพลับ ที่คุณผู้หญิงใช้กันอยู่) สำหรับทาหน้าของผู้หญิง ไม่รู้จะมีคนรุ่นนี้จะทันเห็นของแบบนี้บ้างไม๊นะครับ เลยเป็นที่มาของคำว่า “จั่วปัง” ในภาษาจีน นานวันผ่านไป เมืองไทยก็มีการนำเอากระดาษแข็งแบบนี้มาทำเป็นกล่อง แต่ยังไม่มีคำเรียกเฉพาะ ก็เลยเรียกทับศัพท์เป็นสรรพนามสำหรับกล่องชนิดนี้ไปแล้ว ซึ่งเรียกขานปุ๊บ คนก็จะเข้าใจกันปั๊บ

ไม่นานมานี้ ระหว่างการทำวิจัยคำสืบค้นเพื่อปรับปรุงเว็บและเพื่อการทำ Adwords แอดมิน ไปอ่านเจอหัวข้อขำๆ น่ารักๆ ของกระทู้นึงเข้า เขาโพสว่า [ถามแบบโง่ ๆ ทีเถอะคร๊าบ] What is กล่องจั่วปัง ? ก็มีผู้รู้มาตอบให้ความรู้กันไปแบบน่ารักๆ และเข้าใจได้ง่ายไปแล้ว แอดมินเห็นเข้าก็เลยเกิดความคิด เอ๊ะ น่าจะมาสร้างเป็นกะทู้วิชาการเล็กๆ เพื่อสร้างเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้ากล่องที่เราจะผลิตก็น่าจะดีนะ เอาละ ก็เริ่มกันเลย

Greyboard1

กระดาษแข็งจั่วปัง นี้เป็นการนำเอากระดาษที่ถูกใช้พิมพ์ เขียนและผ่านใช้งานมาแล้ว นำมาแปรรูปกระบวนเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง เรียกกระบวนการนี้ว่า รีไซเคิล (Recycle) ด้วยการนำกระดาษที่ผ่านการใช้งานนี้มาทำการบด ปั่นแหลก ให้เป็นอณูชิ้นเล็กที่สุด เพื่อกำจัดพื้นผิวภายนอก เช่น เคมี หมึก น้ำยาต่างๆ แล้วกรองออก เหลือเอาเพียงเยื่อกระดาษ ที่ผ่านการแช่น้ำจนยุ่ยแล้วนำเอาเยื่อเหล่านี้มาปรับใส่สารเติมแต่งบางอย่างเพื่อให้มีความคงตัวเพิ่มและแข็งตัวได้ นำมาผลิตเป็นกระดาษเพื่อการใช้ซ้ำอีกครั้ง มักจะเห็นเป็นแผ่นกระดาษแข็งๆ สีเทาๆ นั่นแหละครับ กระดาษแบบนี้ฝรั่งก็รู้จักและผลิตได้เช่นกัน ดังนั้น เขาก็เรียกกระดาษตามรูปพรรณที่เขาเห็นว่า “GREY BOARD” เกรย์ (Grey) แปลว่า “สีเทา” บอร์ด (Board) แปลตรงตัวว่า “แผ่นแข็งๆ” ก็สามารถแทนลักษณะนามว่า กระดาษแข็งสีเทา นั่นเอง

เอาละครับ เกริ่นที่มาของรากศัพท์คำนี้มาให้รู้จักกันพอหอมปากหอมไหล่ เพื่อปูเรื่องเข้าสู่ตัวกล่องบรรจุภัณฑ์ ที่บริษัทฯของแอดมิน เป็นผู้ผลิต เนื่องจากกระดาษเกรย์บอร์ด กระดาษจั่วปัง กระดาษแข็งสีเทา ทั้งหลายเหล่านี้ คือ กระดาษที่จะใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกล่องกระดาษแข็ง หรือที่มาของคำว่า กล่องจั่วปัง ในโพสครั้งหน้า แอดมินจะมาเล่าเรื่องความเป็นมาของการผลิตกล่องแบบนี้ ว่า มีลักษณะเด่นและคุณสมบัติอย่างไร และแนวโน้มของบรรจุภัณฑ์แบบนี้จะมีการเติบโตต่อไปอย่างไรนะครับ วันนี้มาคุยและเล่าเรื่องตัวพื้นฐานของวัตถุดิบนี้ให้เข้าใจกันก่อน สวัสดีครับ